ชื่อศูนย์ AIC/CoE | ศูนย์ AIC จังหวัดเชียงราย |
จังหวัด | เชียงราย |
ชื่อองค์ความรู้ | การผลิตก๊าซชีวภาพจากเปลือกสับปะรดโดยไม่ใช้ออกซิเจน |
คำอธิบาย | งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาก๊าซมีเทนจากสับปะรดของกลุ่มชุมชนและวิสาหกิจศูนย์การเรียนรู้สับปะรด ตำบลแม่เย็น อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย โดยเกษตรหันมาปลูกสับปะรดส่งผลให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากและเกิดภาวะล้นตลาด เกิดผลกระทบขายออกไม่ได้และบางส่วนก็เกิดการเน่าเสียร้อยละ 30 ทางผู้วิจัยจึงร่วมกับชุมชนในการแก้ปัญหาสับปะรดที่เสียหายและไม่สามารถจำหน่ายได้ อีกทั้งเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ซึ่งสามารถนำมาผลิตก๊าซมีเทนใช้ในครัวเรือนได้ ด้วยวิธีการหมักแบบไร้ออกซิเจน โดยทำการออบแบบระบบถังหมักสำเร็จรูป โดยใช้ถังขนาด 200 ลิตร แบบ 2 ถัง และทำการทดสอบโดยใช้สับปะรดมาหมักแบบกึ่งอัตโนมัติ เติมต่อเนื่องวันละ 1 กิโลกรัมต่ออัตราส่วนน้ำ 1 กิโลกรัม เพื่อหาอัตราการเกิดแก๊ส รวมถึงอุณหภูมิภายนอกและภายในถังหมัก และทดสอบวัดค่าคามเป็น pH กรดเป็นด่างของของเหลวที่ทำการหมัก พบว่าภายในถังหมักมี pH 2.65 – 3.00 อุณหภูมิเฉลี่ย 25.62 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมอยู่ที่ 26.84 องศาเซลเซียส โดยมีระยะเวลาการเกิดก๊าซมีเทนใช้เวลา 13 วัน ได้ปริมาตรก๊าซมีเทนสะสม 5.02 ลิตร และปริมาณก๊าซมีแทนสะสมเมื่อครบ 30 วัน เท่ากับ 78.85 ลิตร ซึ่งมีค่าอัตราการเกิดเฉลี่ยต่อวัน 2.43 ลิตร และมีค่ามีเทนเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 60 ซึ่งการหมักก๊าซมีเทนจากสับปะรดสามารถให้อัตราการเกิดก๊าซมีเทนเฉลี่ย 2.43 ลิตรต่อวัน สามารถลดต้นทุนทางด้านพลังงานลงได้ 44 บาท/วัน นับว่าเป็นทางเลือกสำหรับเกษตรที่เกิดผลผลิตเสียหายไม่สามารถจำหน่ายได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ |
แหล่งเงินทุน | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย |
---|