ชื่อศูนย์ AIC/CoE | ศูนย์ AIC จังหวัดเชียงราย |
จังหวัด | เชียงราย |
ชื่อองค์ความรู้ | การออกแบบและสร้างเครื่องเหวี่ยงสลัดแยกน้ำมันจากกล้วยหอมกรอบ |
คำอธิบาย | กระบวนการผลิตกล้วยหอมทอดกรอบของผู้ประกอบการก่อนทำการบรรจุห่อ ทำการอบลมร้อนเพื่อไล่น้ำมันที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที ถึงแม้จะลดนั้นไปได้มากแต่ก็ยังมีน้ำมันตกค้างอยู่ ผู้วิจัยนึงมีแนวคิดออกแบบและสร้างเครื่องเหวี่ยงแยกน้ำมันที่ตกค้างนี้ โดยออกแบบและสร้างเครื่องเหวี่ยงแยกน้ำมันที่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 35 เซนติเมตร สูง 45 เซนติเมตร และแบ่งชั้นสำหรับใส่กล้วยหอมทอดกรอบเป็น 3 ชั้น ใช้มอเตอร์ขนาด 135 วัตต์ ความเร็วรอบของเครื่องเหวี่ยงคือ 900 1000 1100 1200 และ 1300 รอบต่อนาทีเป็นเวลา 60 90 และ 120 วินาที ในแต่ละความเร็วรอบ จากผลการทดลองปริมาณน้ำมันที่สลัดออกมาได้มากที่สุดคือ 2.65 +- 0.4% โดยใช้ความเร็ว 1300 รอบต่อนาที เวลา 120 วินาที อย่างไรก็ตามเวลาที่เหมาะสมที่สุดคือ 90 วินาที สามารถสลัดน้ำมันได้ 2.55 +- 0.5% และการแตกหักของกล้วยหอมทอดกรอบหลังจากเหวี่ยงแยกน้ำมันมีน้อยมาก |
แหล่งเงินทุน | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย |
---|